โดเมนเนม ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่ายทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันทีโดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร
ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. โดเมน 2 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
2. โดเมน 3 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ
โดนเมนเนม 2 ระดับ
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.b2ccreation.comประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้
* .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
* .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
* .edu คือ สถาบันการศึกษา
* .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
* .mil คือ องค์กรทางทหาร
โดนเมนเนม 3 ระดับ
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th
ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ
* .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .ac คือ สถาบันการศึกษา
* .go คือ องค์กรของรัฐบาล
* .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
* .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร
* .th คือ ประเทศไทย
* .cn คือ ประเทศจีน
* .uk คือ ประเทศอังกฤษ
* .jp คือ ประเทศญี่ปุ่น
* .au คือ ประเทศออสเตรเลีย
สิ่งที่ควรรู้ก่อนจดโดเมน
ควรคัดสรรเลือกชื่อโดเมนก่อนตัดสินใจจดชื่อโดเมนค่ะ เพราะเมื่อ จดชื่อโดเมนแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชื่อโดเมนที่จดไปแล้วได้ ต้องจดใหม่ ก็คือเสียเงินจดโดเมนเพิ่มอีก 1 โดเมน
- เลือกผู้ให้บริการจดโดเมนที่เชื่อถือได้ เพราะผู้ดูแลโดเมนให้คุณ จะต้องเป็นผู้ต่ออายุโดเมนให้เมื่อโดเมนหมดอายุ นอกจากนี้ เค้ายังสามารถเข้าไปจัดการแก้ไขโดเมนของคุณได้เช่นกัน
- ผู้ให้บริการ ควรจดชื่อโดเมนโดยใช้ชื่อคุณเป็นเจ้าของโดเมน 100% ไม่เช่นนั้นคุณจะไม่สามารถจัดการโดเมนของคุณเองได้ ซึ่งอาจเกิดปัญหา เมื่อคุณต้องการเปลี่ยนผู้ดูแลโดเมนของคุณเป็นเจ้าอื่นค่ะ (การเปลี่ยนผู้ดูแลโดเมน ก็คือ การย้ายโดเมน หรือ Transfer Domain) ทั้งนี้ คุณควรเก็บ Username และ Password สำหรับโดเมนไว้เป็นความลับ หากคุณจ้างผู้อื่นทำเว็บไซต์ ให้แค่ Username และ Password สำหรับ FTP ก็พอ
- ในการจดโดเมน ต้องใช้ข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของโดเมนคือ ชื่อ นามสกุล, ที่อยู่, รหัสไปรษณีย์, อีเมล, เบอร์โทรศัพท์ ทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งแนะนำให้กรอกข้อมูลให้ถูกต้องและครบถ้วนค่ะ หากคุณต้องการทราบว่า เจ้าของโดเมนคือใคร สามารถเช็คได้ที่เว็บไซต์ http://www.whois.com จะปรากฏรายละเอียดเจ้าของโดเมน หากคุณเป็นเจ้าของโดเมนแล้ว และไม่ต้องการเปิดเผยรายละเอียดในส่วนนี้ สามารถแจ้งผู้ให้บริการให้ปกปิดข้อมูลส่วนนี้ได้
ขั้นตอนการจดโดเมน
1.ค้นหาชื่อ โดเมน ว่าว่างหรือเปล่าสามารถจดทะเบียนโดเมนได้หรือไม่
2.ถ้าโดเมนนั้นว่างสามารถจดทะเบียนโดเมนได้ Status จะเป็น Available ใช้เลือกที่ช่องข้างหลัง แล้ว คลิ๊ก Next Step เพื่อดำเนินการต่อ
3.ตรวจสอบจำนวนเงินและเลือก ยอมรับ ข้อตกลงการใช้งานโดเมน
4.ถ้าเป็นลูกค้าใหม่ให้ คลิ๊กที่ Create Account ถ้าเคยใช้บริการแล้วให้ใส่ Username และ Password ได้เลย ระบบจะโหลดข้อมูลเก่ามาให้ไม่ต้องกรอกใหม่
5.ถ้าเลือก Create Account ให้กรอกข้อมูลให้ครบทุกช่อง หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วให้ตรวจสอบข้อมูลและสามารถแก้ไขได้
6.เมื่อตรวจสอบข้อมูลถูกต้องแล้วให้คลิ๊ก Next Step
7.เสร็จขั้นตอนการจดโดเมนหลังจากนี้จะมีเมล์ไปแจ้ง วิธีการชำระเงิน และจำนวนเงินที่ต้องชำระ
8.เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว จะสามารถใช้งานได้ ภายใน 24-72 ชั่วโมง
ราคาการจดทะเบียนโดเมน
จดโดเมน .com .net .org | 450 บาทต่อ 1 ปี |
จดโดเมน .info .biz | 550 บาทต่อ 1 ปี |
จดโดเมน .cc | 15000 บาทต่อ 1 ปี |
จดโดเมน .tv | 1800 บาทต่อ 1 ปี |
จดโดเมน .name | 700 บาทต่อ 1 ปี |
จดโดเมน .in | 900 บาทต่อ 1 ปี |
จดโดเมน .co.th .in.th .ac.th .or.th .net.th | 2000 บาทต่อ 2 ปี |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น